วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562

บทความ 5 เรื่องที่สนใจ




บทความที่ 1

ชื่อบทความ : การปฏิบัติงานของครูตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร

ชื่อผู้แต่ง : วรัชกุล ราชประโคน1 , จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย2, นภาเดช บุญเชิดชู2

ที่อยู่
1. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


ชื่อวารสาร : วารสารสังคมศาสตร์วิจัย  ปีที่ : 7  ฉบับที่ : 1  เลขหน้า : 102-120  ปีพ.ศ. : 2559

บทคัดย่อ
         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติงานของครูตามมาตรฐาน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) เปรียบเทียบระดับการปฏิบัติงานของครูตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลและขนาดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 3) เสนอแนวทางการปฏิบัติงาน
ของครูตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน
186 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามขนาดของศูนย์ และผู้ให้สัมภาษณ์
ได้แก่ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 10 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ใน
การวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์สร้างโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
เชิงปริมาณ ไดแ้ ก ่ รอ้ ยละ คา่ เฉลี่ย สว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะหค์ วามแปรปรวน
ทางเดียว และสรุปข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
         ผลการวิจัยพบว่า
        1. การปฏิบัติงานของครูตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับ
มาก โดยมี 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านวิชาการ
และกิจกรรมตามหลักสูตร รองลงมาคือ ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
ด้านการส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย และด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชน
         2. ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของครูตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเมื่อจำแนก
ตามอายุและขนาดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ
.05 เมื่อจำแนกเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน พบว่า การปฏิบัติงานของครูไม่แตกต่างกัน
         3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรจัดให้ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก ได้รับการอบรมและพัฒนาให้มีความรู้
ด้านปฐมวัยในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมมีการสอนเน้นให้เด็กกล้าแสดงออก และมี
ความมั่นใจในตนเองให้มากขึ้น จัดสถานที่ให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสถานที่จอดรถรับ–ส่งเพียงพอ
มีการประชุมหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กเล็ก เพื่อกำหนดแผน
ความร่วมมือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก



คำสำคัญ
การปฏิบัติงานมาตรฐาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Abstract
         This research aimed to: 1) study the work performance standard of teacher in early
childhood development centers: 2) compare the work performance standard of early
childhood development centers as classified by personal status and school size; and
3) identify guidelines to improve the work performance standard of early childhood
development centers. The samples consisted of 186 teachers, derived by proportional
stratified random sampling distributed by centers and 10 heads of early childhood
development centers, derived by purposive sampling. The research instruments were
a questionnaire and an interview form, developed by the researcher. The statistics used
for quantitative data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way
analysis of variance; and content analysis for qualitative data.
         The research results revealed that:
         1. The work performance standard of teachers in early childhood development
centers was at a high level in both overall and specific aspect. The top three aspects were
personnel management of early childhood development centers and academic affairs and
curriculum activities, followed by the aspects of building, environment and safety, promotion of
early childhood development network, and community’s participation and support.
         2. Teachers’ working performance standard as classified by age and center size
were different with statistical significance at .05. However, when classified by gender,
educational level and working experience were not statistical differences.
         3. Early Childhood development centers should provide teachers with training or
professional development in childhood education. The teaching should focus on the child’s
assertive behavior and self-confidence. The early childhood development centers should
allocate sufficient parking lot. The meeting between the head of the centers, teachers and
assisting teachers should be held regularly to set collaboration plan and exchange ideas
about the operation of child development centers.


Keywords
work performance standard, early childhood development center, local administrative organization


บทความที่ 2

ลิงค์ไปยังตัวบทความ (Fulltext) : https://www.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/126463
ชื่อบทความ : แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์

ชื่อผู้แต่ง : ณัฐวุฒิ เข็มทิศ1 , รังสรรค์ สิงหเลิศ1, ณรงค์ฤทธิ์ โสภา1

ที่อยู่
1. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ชื่อวารสาร : วารสารช่อพะยอม  ปีที่ : 29  ฉบับที่ : 1  เลขหน้า : 275-288  ปีพ.ศ. : 2561

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) เพื่อทดลองและประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ กำหนดกลุ่มตัวอย่าง ของ Taro Yamane จำนวน 227 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง โดยใช้โปรแกรมลิสเรล เพื่ออธิบายอิทธิพลเส้นทาง กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรสาเหตุ จำนวน 6 ปัจจัยสาเหตุ ระยะที่ 2 เป็นการสร้างแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นายกหรือรองนายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 5 คน ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย จำนวน 5 คน ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 5 คน ผู้แทนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษา จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 20 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ที่ได้จากการวิจัยในระยะที่ 1 มาเป็นประเด็นในการพิจารณาสร้างแนวทางการพัฒนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการประชุมกลุ่มย่อย และการระดมความคิดเห็นในที่ประชุมใหญ่ นำรูปแบบที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนา และระยะที่ 3 เป็นการทดลองใช้และประเมินผลแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มทดลอง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 6 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ในระดับโรงเรียน จำนวน 3 คน และผู้บริหารสถานศึกษาในระดับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 คน ใช้การเลือกแบบสมัครใจ ประเมินผลการทดลอง โดยการเปรียบเทียบผลการทดลอง ก่อนทดลองกับหลังการทดลอง ใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test โดยกำหนดค่า ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย หลักในการปกครอง ( 0.76) การเป็นตัวอย่างที่ดี (0.30) การมีวิสัยทัศน์ที่ดี (0.30) และ ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน (0.27) 2. ผลการสร้างแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดทำกิจกรรมในแนวทางการพัฒนา 4 ตัวแปร จำนวน 10 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) การสนทนาวงกลม 2) เรียนรู้หลักในการปกครอง 3) แต่งกายดี 4) วจีไพเราะ 5) การแสดงบทบาทสมมติ 6) การระดมความคิด 7) การสร้างวิสัยทัศน์ 8) จงอาง หวงไข่ 9) ศึกษาดูงาน และ 10) กีฬาสร้างความสัมพันธ์ 3. ผลการทดลองและประเมินผลการใช้ แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และผลการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า ก่อนทดลองกับหลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนในทุกตัวแปรตาม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ
แนวทางการพัฒนา, ภาวะผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษา, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Abstract
The purposes of research were to (1) analyze causal factors affecting leadership development of educational administrators under local administrative organizations in Buriram province, (2) to design the strategies for leadership development and (3) to implement and evaluate the strategies. The research methodology was divided into 3 phases. In the first phase, the researcher investigated and analyzed 6 causal factors which affected leadership development of educational administrators. The data was collected by questionnaire from 227 educational administrators under the local administrative organizations in Buriram province. Taro Yamane method was used to calculate the sample size and samples were selected by the proportional
stratified random sampling. The data was analyzed by Structural Equation Model: SEM, LISREL for Windows with Path Analysis at the .05 level of statistical significance. In the second phase, the researchers designed and develop the strategies for leadership development based on the data of first phase. The strategies for leadership development was assessed by 20 research participants consisting of five administrators of the local administrative organizations, five representative of the Ministry of Interior, five representative of the Ministry of Education Academicians, and five educational stakeholders. The data was collected by focus groups and brain storming. In the third phase, the voluntary sample subjects were six educational administrators under the local administrative organizations in Buriram province. They were the experimental group of the strategies for leadership development. The data was analyzed by Wilcoxon Signed Rank Test at
the .05 level of statistical significance. Results of the research were as follows: 1. The research findings showed that the four major causal factors were related to leadership development of the educational administrators at the .05 level of the statistical significance. The factors consisted of principles administration (0.76), good model (0.30), good vision (0.30) relationships between school and community (0.09) respectively.
2. The strategies for leadership development of the educational administrators consisted of ten activities: 1) conversation circle, 2) learning principles administration, 3) dressing, 4) polite and good speech, 5) role - play, 6) brain storming, 7) creating clear and good vision, 8) egg protection of king cobra, 9) study visit and 10) sport for creating unity. 3. The average leadership of the educational administrators in the local administrative organizations in Buriram province after implementing the practical strategies was better than that of before implementing the strategies at the .05 level of the statistical significance.

Keywords
strategies, leadership development, educational administrators under local administrative organizations

บทความที่ 3 
ลิงค์ไปยังตัวบทความ (Fulltext) : https://www.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/127722/104517
ชื่อบทความ : แนวทางการพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุ 1 เดือน ถึง 2 ปี

ชื่อผู้แต่ง : เดชา ทําดี1, จุฑามาศ โชติบาง1, เนตรทอง นามพรม1, อุษณีย์ จินตะเวช1, พัชรี วรกิจพูนผล1

ที่อยู่
1. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อวารสาร : วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา  ปีที่ : 19  ฉบับที่ : 2  เลขหน้า : 3-16  ปีพ.ศ. : 2561

บทคัดย่อ
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศชาติ เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ดังนั้นการพัฒนาประชากรของชาติ ต้องเริ่มตั้งแต่การเตรียมมารดาที่ท้อง การจัดการระบบการดูแลทารกแรกเกิด การส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยหรือเด็กเล็กมีสุขภาพดี  บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลการดำเนินการที่ผ่านมาเกี่ยวกับกระบวนการ กิจกรรม และแนวทางการพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุ 1 เดือน ถึง 2 ปี และพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุ 1 เดือน ถึง 2 ปี ซึ่งสามารถสรุปประเด็นการดำเนินการได้คือ สถานการณ์ด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุ 0-2 ปี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องแต่พบปัญหาเด็กปฐมวัยในช่วงอายุ 0-1 ปี ได้รับการดูแลจากครอบครัวที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการดูแลเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสมตามพัฒนาการ สำหรับแนวทางดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุ ต่ำกว่า 2 ปี ได้แก่ การจัดการสถานบริการสำหรับเด็กปฐมวัยในเรื่องการดูแลด้านสุขภาพ การส่งเสริมการเลี้ยงดู การเจริญเติบโตและพัฒนาการ  ต้องเริ่มตั้งแต่การเริ่มมีการปฏิสนธิในครรภ์มารดา การดูแลให้เด็กแรกเกิดให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ภายหลังจากทารกอายุ 6 เดือนแล้ว ต้องส่งเสริมให้ได้รับอาหารเสริมที่เหมาะสมตามช่วงวัย ส่งเสริมให้ครอบครัวเข้ามาบทบาทในการเลี้ยงดูเด็กเล็กให้มากขึ้น พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่เลี้ยงดูเด็กต้องให้ความใส่ใจในการประเมินพัฒนาการ  หน่วยงานองค์กรต่างๆที่รับผิดชอบการพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องมคำนึงถึงการพัฒนาทั้งด้านสุขภาพและด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยควบคู่กันไป หน่วยงานต่างๆต้องมีการประเมินคุณภาพสถานบริการรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต้องมีการประเมินคุณภาพสถานบริการรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในความรับผิดชอบของตนเองอย่างต่อเนื่อง และควรมีการส่งเสริมการจัดทำหลักสูตรที่เหมาะสม

คำสำคัญ
แนวทาง; เด็กปฐมวัย; ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

Abstract
Children are an important human resource for development of the country. Population development should be prepared since pregnancy period, manage suitable newborn care system, and promote healthy early childhood. This article aims to review about processes, activities, and practices related to early childhood development between aged 1 month to 2 years and to develop policy suggestion. This review revealed that the situation of early childhood development was gradually progress but the main problem found was a lack of knowledge, understanding and skills related to childcare practice that appropriate with child development period of the family. Accordingly, the guideline for early childhood under 2 years should include child care service that focus on health promotion while child development should be motivated since pregnancy period. Moreover, Newborn should be properly care, and infant after 6 months should be suitably feed by age. Family should be encouraged to participate in taking care of the children and pays more attention to child development evaluation. For the institutions or organizations who are responsible for early childhood development, child health promotion should go side by side with promotion of early childhood development. Moreover, childcare units and child development centers should be continuous evaluated together with curriculum arrangement.

Keywords
Guideline; early childhood; child development centers

บทความที่ 4
ลิงค์ไปยังตัวบทความ (Fulltext) : https://www.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/90996/71495



ชื่อบทความ : การศึกษาการจัดการชั้นเรียนของผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง

ชื่อผู้แต่ง : อรทัย เลาอลงกรณ์1 

ที่อยู่
1. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ชื่อวารสาร : วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง  ปีที่ : 6  ฉบับที่ : 1  เลขหน้า : 185-198  ปีพ.ศ. : 2560

บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการชั้นเรียนของผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง  ใน 5 ด้าน คือ ด้านการจัดสภาพแวดล้อม ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ด้านการใช้สื่อ  การเรียนรู้ ด้านการจัดการเพื่อความต่อเนื่อง  และด้านการจัดการกับความขัดแย้ง  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  เทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปางจำนวน 28 คนจาก 11 ศูนย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม  โดยแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือตอนที่ 1 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม และตอนที่ 2   เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติการจัดการชั้นเรียนของผู้ดูแลเด็กใน 5 ด้าน  โดยมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน          
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง มีการจัดการชั้นเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าผู้ดูแลเด็กมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการชั้นเรียนในระดับดี 4 ด้านเรียงตามลำดับคือ ด้านการจัดสภาพแวดล้อม ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  ด้านการจัดการกับความขัดแย้ง และด้านการจัดการเพื่อความต่อเนื่อง  ระดับปานกลาง คือด้านการใช้สื่อการเรียนรู้



คำสำคัญ
การจัดการชั้นเรียน ; ผู้ดูแลเด็ก; ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

Abstract
The purpose of this research was to study childcare takers’ classroom management practice
at child development centres under Khelang Nakorn municipality supervision in Lampang province focusing on childcare classroom management practice; the environmental management, the experiential support management, the learning material management, the continuity management and the conflict management. The data collected from 28 childcare takers working at 11 child development centres under Khelang Nakorn municipality supervision by using questionnaires. Each questionnaire was separated into 2 parts; the general information and the child caretakers’ classroom management practice. Mean, percentage and standard deviation were used in the data analysis.
The findings revealed as following: the overall childcare takers’ classroom management practice was at good level. Focusing on each practice, the environmental management, the experiential support management, the conflict management, and the continuity management were at good level respectively. However, the learning material management was at moderate level.


Keywords
classroom management, childcare takers, child development centre


บทความที่ 5

ลิงค์ไปยังตัวบทความ (Fulltext) : http://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/683/pdf_252
ชื่อบทความ : รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้

ชื่อผู้แต่ง : ประเสริฐ พืชผล1 , นิคม จารุมณี2, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์2

ที่อยู่
1. สาขาภาวะผู้นำการจัดการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
2. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ชื่อวารสาร : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  ปีที่ : 9  ฉบับที่ : 2  เลขหน้า : 319-345  ปีพ.ศ. : 2560

บทคัดย่อ
         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการของ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อนำมาสร้างรูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และทำการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้ โดยมีวิธีดำเนินการแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1
ศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจากเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี
และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และทำการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงสำรวจ (Exploratory
Factor Analysis: EFA) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กขององค์การ
บริหารส่วนตำบลในภาคใต้ จำนวน 308 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารจัดการ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้ โดยนำผลการวิเคราะห์องค์ประกอบมาสร้างรูปแบบ
หลังจากนั้นจึงนำรูปแบบไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาความเหมาะสมโดยการสนทนากลุ่ม
(Focus Group Discussion) เพื่อยืนยันความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและทำการปรับปรุง
รูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 13 คน และขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบการบริหาร
จัดการที่มีประสิทธิภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ
องค์การบริหารส่วนตำบลและประเมินความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของศูนย์พัฒนา
เด็กเล็กในภาคใต้ มี 6 องค์ประกอบ จำนวน 68 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การบริหาร
ทรัพยากรบุคคล ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีจำนวน 7 ตัวบ่งชี้
องค์ประกอบที่ 2 โครงสร้างการบริหาร ประกอบด้วย สายงานบังคับบัญชา มีจำนวน
4 ตัวบ่งชี้ การบริหารอาคารสถานที่ มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้ และระบบงานธุรการการบริหาร
งบประมาณ มีจำนวน 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 คุณภาพของผู้เรียน ประกอบด้วย
การพัฒนาเหมาะสมกับวัย มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้ การพัฒนาทางสังคม มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้
การพัฒนาการเรียนรู้ มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้ และภาวะทางอารมณ์ มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้
องค์ประกอบที่ 4 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ประกอบด้วย คณะทำงานร่วมกับสถาน
ศึกษา มีจำนวน 3 ตัวบ่งชี้ และร่วมการพัฒนาการศึกษา มีจำนวน 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบ
ที่ 5 การบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ ประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมทางการเรียน
มีจำนวน 3 ตัวบ่งชี้ การบริหารหลักสูตรและพัฒนาระบบประเมินผล มีจำนวน 8 ตัวบ่งชี้
และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 6
คุณลักษณะและภาวะผู้นำของผู้บริหาร ประกอบด้วย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้ ส่วนการประเมินรูปแบบปรากฏว่าผลการดำเนินงานตามรูปแบบ
การบริหารจัดการทำให้การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คำสำคัญ
รูปแบบการบริหารจัดการ; ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

Abstract
         The purposes of the research were to study the management of
childhood development centers, create efficiency models and evaluate the
efficiency management models of childhood development centers in the South
of Thailand by using three implementations. Firstly, the management of
childhood development centers, their concepts, theories, and related research
were studied. Exploratory Factor Analysis: EFA was used to analyze the
element management. The data of 308 leaders of childhood development
centers from the sub - district administrative organizations in the South were
collected. Secondly, the models of the centers were created by using the
results of the element analysis. Then focus group discussion was conducted by
13 professionals to confirm the feasibility in practice and adjustment.Finally, the
efficient management models of childhood development centers in the south in
the sub-district administrative organizations were evaluated. Both the appropriate
evaluation and the usefulness of the models were estimated.
         The results showed 6 components and 68 indicators of the efficiency
management models of childhood development centers in the South. The first
component was human resource management consisting of seven indicators of
teachers and educational personnel. The second component was a command
hierarchy with a total of four indicators, five indicators of administrative buildings,
and six indicators of administrative systems and budget management. The
third element was quality of learners consisting of five indicators of age -
appropriate development, four indicators of social development, four indicators
of learner development and four indicators of emotional status. The fourth
component was networking cooperation consisting of three indicators of boards
of education working with schools and seven indicators of co - working
educational development. The fifth component was curriculum administration
and academic tasks consisting of three indicators of learning environment,
eight indicators of curriculum administration and evaluation system development
as well as four indicators of information technology for learning. Finally, the
sixth component was characteristics and leadership of administrators consisting
of four indicators of local administrative leaders. The results of performance -
based management model also increased efficiency of the administration of
childhood development centers.

Keywords
Management Model; Childhood Development Center

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

sirikul