วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562

งานวิทยานิพนธ์ 5 เรื่องที่สนใจ




งานวิทยานิพนธ์ที่สนใจเรื่องที่  1

การบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
The Administration of child development centers of sub district administrative organizations in nong hong district , buriram province

Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามความคิดเห็นของบุคลากรองค์การบริการส่วนตำบล ที่จำแนกตามวุฒิการศึกษา อายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 210 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบปลายเปิดมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 6.89-13.96 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที ทดสอบค่าเอฟ และการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามความคิดเห็นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวม และรายด้าน อยู่ระดับมาก 2. การบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามคิดเห็นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และไม่แตกต่างกัน 3. การบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามความคิดเห็นของบุคคลากรองค์กรการบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีอายุต่างกัน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านบุคลากรและการบริหารจัดการ เรื่องรับผิดชอบดูแลบุคลากรตามนโยบายที่วางไว้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย เรื่องจัดสภาพแวดล้อมภายนอกที่ปลอดภัยโดยปราศจากมลภาวะ ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร เรื่อง กำหนดเวลาการจัดประสบการณ์ตามกิจกรรมประจำวันไว้อย่างชัดเจนและด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากชุมชน เรื่อง ร่วมมือกับผู้ปกครองในการปรับปรุงแผนการดำเนินงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4. การบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามความคิดเห็นของบุคคลากรองค์กรการบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ด้านบุคลากรและการบริหารหลักสูตร มีปัญหาเกี่ยวกับการการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาไม่เพียงพอ ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร มีปัญหาเกี่ยวเนื่องจากการจัดอบรมด้านวิชาการให้กับบุคลากรเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและไม่มีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ด้านสถานที่สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย มีปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ใช้สอยแยกไม่เป็นสัดส่วน และการจัดสภาพแวดล้อมบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่ร่มรื่นและปลอดภัย และด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากชุมชนเห็นว่าการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่ต่อเนื่องและไม่มีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5. ข้อเสนอแนะการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามความคิดเห็นของบุคคลากรองค์กรการบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีข้อเสนอแนะสำคัญ ได้แก่ ด้านบุคลากรและการจัดการ ควรมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างเพียงพอและควรมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะอื่นๆ ของผู้ดูแลเด็กเล็กด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ควรมีการจัดอบรมด้านวิชาการให้กับบุคลากรเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมด้านการเรียนการสอนให้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ และควรพัฒนาส่งเสริมให้มีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อนำพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็ก ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ควรมีการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยและแยกเป็นสัดส่วนให้ชัดเจนเหมาะสม และควรจัดสภาพแวดล้อมบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีความร่มรื่นและปลอดภัย และด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากชุมชน ควรมีการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และควรมีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ
Buriram Rajabhat University
Address: BURIRAM
Email: library@live.bru.ac.th
Created: 2557
Modified: 2558-05-26
Issued: 2558-05-21
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
RightsAccess:





งานวิทยานิพนธ์ที่สนใจเรื่องที่ 2
การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศึกษาของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดยโสธร
Parents’ Participation in an Educational Administration of the Early Childhood Development Centers under Yasothon’s Local Administrative Organizations

Classification :.DDC: 372.21
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดยโสธร2.เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดยโสธรจำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา และ 3.ศึกษาข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดยโสธร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ปกครองนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดยโสธร ปีการศึกษา 2555 จำนวน 370 คนโดยใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ผู้ปกครองนักเรียนของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ ผ่านการประเมินรับรองมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กน่าอยู่ระดับดีมาก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F และและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดยโสธร 4 ด้านคือด้านการวางแผน ด้านการประสานงาน ด้านการประสานงาน และ ด้านการประเมินผล โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ของผู้ปกครองโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 ด้าน 3.1 ด้านการวางแผนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรจะเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามาระดมความคิดเห็นในโครงการต่างๆ และควรให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเป้าหมายและทิศทางในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3.2 ด้านการประสานงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเน้นในการประสานงานกับผู้ปกครองให้มากขึ้นและต่อเนื่อง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรมีการส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมส่งเสริมการใช้กิจกรรมสื่อสารและประสานงานกับครูประจำชั้น 3.3 ด้านการจัดสรรทรัพยากรผู้บริหารควรตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการศึกษาและจัดสรรทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นด้านงบประมาณหรือบุคคล เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มากขึ้น 3.4 ด้านการประเมินผล ผู้ปกครองมีโอกาสในการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการของโรงเรียนน้อยมากทั้งนี้เพราะขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการของการประเมินผล The research aimed to study and compare the parents’ participation in an educational administration of the Early Childhood Development Centers under the Local Administrative Organizations of Yasothon province as classified by sex, age, occupation and an educational level, and to examine the recommendations on the parents’ participation in an educational administration. The samples used in the research were 370 parents of the students of the early Childhood Development Centers in Yasothorn, derived by a stratified random sampling. The research instruments were the five rating scale questionnaire and the interviews for the students’ parents which were evaluated at a very good level. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, and content analysis. The research findings were as follows. 1. The parents of the students’ participation was at a high level in planning, coordinating, resource allocating and evaluating. 2. In comparing the parents’ participation in an educational administration of the early childhood development centers as classified by sex, age, educational level, and occupation of the subjects, it was found to be statistically different at the level of .05. 3. The following were the recommendations for the parents’ participation. 3.1 On planning the early childhood development centers should allow the parents to express their opinion and take part in determining the targets and directions of the centers. 3.2 On coordinating the local administrative organization should focus on a coordination with the parents. The parents of the students should be encouraged to take part more in the communication activities with the teachers. 3.3 On resource allocating the administrators should be aware of the significance of education and resource allocation for further development of the early children. 3.4 On evaluation the parents should were rarely given the opportunity to evaluate the performance according to the school project as they lacked an understanding of the evaluation principles.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: อุบลราชธานี
Email: info.lib@ubru.ac.th
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Created: 2557
Modified: 2558-01-14
Issued: 2014
Issued: 2557-12-11
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
Spatial: ไทย
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
RightsAccess


งานวิทยานิพนธ์ที่สนเรื่องที่ 3

องค์ประกอบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดเพชรบุรี
Administrative factors of local administrative organizations affecting operation according to standard of child development centers in Phetchaburi province

Classification :.DDC: 372
Abstract: ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ได้รับการถ่ายโอนจากส่วนราชการต่างๆ และที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งเอง ความหลากหลายนี้จึงต้องอาศัยมาตรฐานการดำเนินงานและบริหารจัดการของผู้บริหาร ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นไปตามมาตรฐานและได้รับการยอมรับจากชุมชน ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาวิจัยเรื่องนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) การดำ เนินงานตามมาตรฐานของศูนยพ์ัฒนาเด็กเล็ก และ 3) องคป์ระกอบ การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รองนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 53 คน ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 26 คน นักวิชาการศึกษา 26 คน และผู้ดูแลเด็ก 108 คน รวม 213 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านภาวะผู้นำ รองลงมาคือ ด้านการกำหนดนโยบายและการวางแผน ด้านการจัดโครงสร้างองคก์รด้านการบริหารจัดการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารบุคลากร และด้านการบริหารวัสดุอุปกรณ์ ตามลำดับ 2. การดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร รองลงมา คือ ด้านบุคลากร ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านการมีส่วนร่วมและ การสนับสนุนจากทุกภาคส่วน และด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามลำดับ 3. องค์ประกอบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (X) ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตาม มาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (Y) ได้แก่ ด้านการกำหนดนโยบายและการวางแผน (X1) ดา้นการบริหารจดัการ (X5) และด้านการจัดโครงสร้างองคก์ร (X6) มีค่าประสิทธิภาพในการทำนาย (R2) ร้อยละ 68.10 ข้อค้นพบจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การก าหนดนโยบาย การวางแผนและการจัดองค์กร เป็นสิ่งส าคัญ ที่จะท าให้การด าเนินงานพัฒนาศูนย์เด็กเล็กพัฒนาสู่มาตรฐานได้ ผู้บริหารจึงควรให้ความสนใจและจัดให้มีการกำหนดนโยบาย โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เพื่อนำมาสู่การวางแผนเพื่อพัฒนาองค์กร จัดโครงสร้างองค์กรให้มีความสอดคล้อง กับบริบทของศูนย์และศักยภาพของบุคลากรในองค์กร จะทำให้ศูนย์เด็กเล็กมีคุณภาพ สามารถส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมการพัฒนาเด็กให้เป็นที่ยอมรับของชุมชนได้ Nowadays, Local Administrative Organizations (LAOs) have to take the role in operating child development centers transferred from various governmental organizations and also established by LAOs themselves. This background diversity needs operative and administrative standard. Therefore, in order to enhance the operative quality of child development centers according to the standard and get more community’s acceptance, the researcher was interested in doing this research aiming to study: 1) administrative factors of LAOs, 2) operation according to standard of child development centers, and 3) administrative factors of LAOs affecting operation according to standard of child development centers in Phetchaburi Province. The 213 research samples consisted of 53 deputy chief executives of LAOs, 26 chief administrators of LAOs, 26 education technical officers, and 108 child caregivers. The research tool was a questionnaire. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis. The research results were as follows: 1. The administrative factors of LAOs were overall at a high level. When each aspect was considered, the aspect with the highest mean was leadership, whereas the other aspects with the lower means were, ranked in descending order of their means, policy determination and planning, organization structuring, management, budget administration, personnel administration, and material administration. 2. The operation according to standard of child development centers was overall at a high level. When each aspect was considered, the aspect with the highest mean was academic affair and activities according to curriculum, whereas the other aspects with the lower means were, ranked in descending order of their means, 1) personnel, 2) building, environment and safety, 3) child development center management, 4) participation and support from various sectors, and 5) promotion of early childhood development network. 3. The administrative factors of LAOs affecting operation according (X) to standard of child development centers (Y) were policy determination and planning (X1), management (X5), and organization structuring (X6), with predictive efficiency (R2) at 68.10%. The research finding revealed that policy determination, planning, and organizing were the important factors in improving the operation of child development centers to meet the standard. The administrators, therefore, should pay more attention to those factors and organize policy determination with participation of all personnel in organizations. Then, planning for organizational development and structuring should be held with conformity to the center context and potential of personnel in organizations. These would result in child development center quality and ability in promotion and support of activities for child development to achieve more community’s acceptance. Keywords: Administrative factors, operation according to standard, child development center
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: เพชรบุรี
Email: kusolphong.phi@mail.pbru.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Created: 2559
Modified: 2560-10-19
Issued: 2560-10-19
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
CallNumber: วพ 372.21 ส753อ 2559
tha
Spatial: เพชรบุรี
DegreeName: Master of Education
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
RightsAccess:


งานวิทยานิพนธ์ที่สนใจเรื่องที่  4

การดำเนินงานจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามมาตรฐานกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดเลย
The performance of educational management of pre-school children development center according to standards of department of local administration in loei province

Classification :.DDC: วพ370.113
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 ศึกษาระดับการดำเนินงานจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามมาตรฐานกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในจังหวัดเลย 2 เปรียบเทียบระดับการดำเนินงานจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามทัศนะของบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์การทำงาน และหน่วยงานต้นสังกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กำหนดขนาดโดยใช้ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน _Krejcie and Morgan_ จำนวน 292 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการทดสอบสมมุติฐานใช้สถิติทดสอบที _t-test_
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. ศูนย์วิทยบริการ
Address: เลย
Email: library@lru.ac.th
Role: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
Modified: 2554-12-01
Issued: 2554-11-21
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
CallNumber: วพ370.113
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
RightsAccess:


งานวิทยานิพนธ์ที่สนใจเรื่องที่ 5

การประเมินผลมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
The Evaluation on Working Implementation Standards of Children Development Centers under the Jurisdiction of Sub-district Administration Organization in Mae Chai District, Phayao Province

Abstract: ศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ในด้านประสบการณ์การทำงาน เพศ และระดับการศึกษาของผู้บริหารต่อการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา จำนวน 64 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาพบว่า การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ในภาพรวมพบว่า ระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับดี หากพิจารณารายด้านพบว่า การดำเนินงานด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเป็นอันดับแรก รองลงมาได้แก่ ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร และด้านบุคลากรและการบริหารจัดการ โดยเมื่อแยกพิจารณารายด้านพบว่า ด้านบุคลากรและการบริหารจัดการมีการจัดการอยู่ในระดับดี ผู้บริหารเห็นว่าบุคลากรมีความรู้ และมีคุณวุฒิการศึกษาตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ด้านอาคารสถานที่และความปลอดภัย พบว่า ได้มีการจัดบริหารอาหาร น้ำดื่ม และอาหารเสริมที่มีคุณค่าต่อสุขภาพเด็กเล็กอย่างดีและต่อเนื่อง มีการจัดอาคารเรียนที่มั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยสำหรับเด็ก ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กในด้านร่างกายอย่างดี และด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชน พบว่า ในด้านการได้ปฏิบัติ ผู้บริหารมีการจัดกิจกรรมเพื่อให้ชุมชนได้แสดงความคิดเห็นในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การจัดการประชุมชี้แจงให้ชุมชนมีส่วนร่วมบริหารการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างสม่ำเสมอ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สำนักวิทยบริการฯ
Address: ปริญญาโท
Email: library@cru.in.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษาการศึกษาอิสระหลัก
Role: อาจารย์ที่ปรึกษาการศึกษาอิสระร่วม
Created: 2553-09
Modified: 2557-09-04
Issued: 2554-11-02
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
CallNumber: วพ372.218 ช5558ก
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
RightsAccess:


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

sirikul