วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2562

sirikul


รูป


สมาชิก


pixlr


ส่งภาพ


แบบสอบถาม



นิ้วโป้งอยู่ไหน เพลงสำหรับเด็กอนุบาล

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562

เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย รวมเพลงสำหรับเด็ก

งานวิจัยต่างประเทศที่สนใจ



งานวิทยานิพนธ์ที่สนใจเรื่องที่ 1  https://eric.ed.gov/

https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED592752.pdf

Child and Family Development Research
Child and Family Development Research. OPRE Report 2016-35
De La Rosa, Bill
Office of Planning, Research and Evaluation
The Office of Planning, Research and Evaluation's (OPRE's) Division of Child and Family Development (DCFD)
is responsible for research and evaluation related to Head Start programs, early childhood development, child care,
 child maltreatment, and child welfare services. OPRE's research in the area of child and family development
focuses on young children, parents and caregivers, families, and youth. Examples of recent focal areas include
 dual language learners, classroom quality, family engagement, and workforce services. This report describes
major OPRE/DCFD projects in 2016.
Office of Planning, Research and Evaluation. Administration for Children & Families, US Department of Health and
 Human Services, 330 C Street SW, Washington, DC 20201. Web site: https://www.acf.hhs.gov/opre
Publication Type: Reports - Descriptive
Education Level: Early Childhood Education; Preschool Education; Higher Education; Postsecondary Education
Audience: N/A
Language: English
Sponsor: N/A
Authoring Institution: Administration for Children and Families (DHHS), Office of Planning, Research and Evaluation (OPRE)
Identifiers - Assessments and Surveys: Head Start Family and Child Experiences Survey
Facebook Twitter
Department of EducationInstitute of Education Statistics






งานวิทยานิพนธ์ที่สนใจเรื่องที่ 2  https://link.springer.com/


The child care learning center: A practitioner designed training and staff development program for child/youth care worker



Abstract

Child care workers, university professors, agency directors, and state officials in Wisconsin have been involved for the last three years in developing an innovative approach to training and staff development services for child/youth care workers. The program combines community and university resources in an attempt to provide several alternative forms of training and improved work related incentives for program participants. This article gives program background information and describes the progress made to this point and future program plans.

Keywords

Development Program Child Care Agency Director Background Information Alternative Form 
These keywords were added by machine and not by the authors. This process is experimental and the keywords may be updated as the learning algorithm improves.



งานวิทยานิพนธ์ที่สนใจเรื่องที่ 3  https://dl.acm.org/


Abstract

Baby CROINC (CROwd INtelligence Curation) is an online early-childhood development tracker designed to be both personalized and objective. To meet these goals, we rely on Curated Crowd Intelligence (CCI), a process in which experts curate personalized inputs to connect with the crowd's aggregate data, providing parents with objective and personalized feedback on their children's development. In this paper, we describe Baby CROINC's design, with a focus on CCI, and assess the extent to which it meets its design goals of objectivity and personalization.
In Baby CROINC, parents create a diary by adding developmental milestones to a timeline. Visual statistics are presented per milestone. Expert curators clarify, merge, and classify milestones which are new to the system.
Diary personalization was evident through users' rich and diverse milestone choices, and by the continuous system increase in new canonical developmental concepts. Findings demonstrate the objectivity of the crowd-based percentiles extracted from Baby CROINC, based on consistency of developmental differences in preterm vs. fullterm and boys vs. girls with established research, and the correlation between medians reported in our system and those appearing on the U.S. Centers for Disease Control and Prevention's Milestones webpage.1
CCI led to a dramatic increase in users' ability to view crowd-based statistics, indicating that CCI is critical for enabling objectivity while maintaining personalization.



งานวิทยานิพนธ์ที่สนใจเรื่องที่ 4  https://ieeexplore.ieee.org/

Construction of website-based platform on development assessment of children with autism


Abstract:
National Disability and Rehabilitation Office organized the experts in children with autism education to make Development Assessment of Children with Autism Evaluation Form (Trial) in March 2009. The college website provides a network platform for the implementation of the development of children which analyzes and converts the evaluation results so that the majority of children with autism rehabilitation professionals can free from cumbersome manual operation. The experts concerned can also use the platform to guide the rehabilitation of children with autism.






งานวิทยานิพนธ์ที่สนใจเรื่องที่ 5  https://www.emeraldinsight.com/



(De) Centering the Kindergarten 
Prototype in the Child-Centered Classroom

Author(s):
Book/Volume:
14 Editor(s): Sharon RyanSusan Grieshaber ISBN: 978-0-76231-238-2 eISBN: 978-1-84950-364-8
Abstract:
On the basis of data from a project that examined the school experiences of children who were seen to have readiness risks, this chapter examines the child in the child-centered classroom and how this child shaped by our notions of development. Across the classrooms observed, the teachers seemed to teach to a kindergarten prototype, a generic child who had the social, physical, and academic maturity and did not have much pedagogical support. The data are then read through three conceptualizations of development (postmodern deconstruction, developmental realism, and cultural developmentalism). I argue that I use these conceptualizations almost simultaneously in my work and that a hybrid reading highlights the invisibility of individual children in child-centered classrooms.
Type:
Chapter Item
Publisher:
Emerald Group Publishing Limited
Citation:
Elizabeth Graue, (2005), (De) Centering the Kindergarten Prototype in the Child-Centered Classroom, in Sharon RyanSusan Grieshaber (ed.) Practical Transformations and Transformational Practices: Globalization, Postmodernism, and Early Childhood Education (Advances in Early Education And Day Care, Volume 14) Emerald Group Publishing Limited, pp.39 - 58

Downloads:
The fulltext of this document has been downloaded 194 times since 2006










บทความ 5 เรื่องที่สนใจ




บทความที่ 1

ชื่อบทความ : การปฏิบัติงานของครูตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร

ชื่อผู้แต่ง : วรัชกุล ราชประโคน1 , จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย2, นภาเดช บุญเชิดชู2

ที่อยู่
1. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


ชื่อวารสาร : วารสารสังคมศาสตร์วิจัย  ปีที่ : 7  ฉบับที่ : 1  เลขหน้า : 102-120  ปีพ.ศ. : 2559

บทคัดย่อ
         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติงานของครูตามมาตรฐาน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) เปรียบเทียบระดับการปฏิบัติงานของครูตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลและขนาดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 3) เสนอแนวทางการปฏิบัติงาน
ของครูตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน
186 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามขนาดของศูนย์ และผู้ให้สัมภาษณ์
ได้แก่ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 10 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ใน
การวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์สร้างโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
เชิงปริมาณ ไดแ้ ก ่ รอ้ ยละ คา่ เฉลี่ย สว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะหค์ วามแปรปรวน
ทางเดียว และสรุปข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
         ผลการวิจัยพบว่า
        1. การปฏิบัติงานของครูตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับ
มาก โดยมี 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านวิชาการ
และกิจกรรมตามหลักสูตร รองลงมาคือ ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
ด้านการส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย และด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชน
         2. ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของครูตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเมื่อจำแนก
ตามอายุและขนาดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ
.05 เมื่อจำแนกเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน พบว่า การปฏิบัติงานของครูไม่แตกต่างกัน
         3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรจัดให้ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก ได้รับการอบรมและพัฒนาให้มีความรู้
ด้านปฐมวัยในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมมีการสอนเน้นให้เด็กกล้าแสดงออก และมี
ความมั่นใจในตนเองให้มากขึ้น จัดสถานที่ให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสถานที่จอดรถรับ–ส่งเพียงพอ
มีการประชุมหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กเล็ก เพื่อกำหนดแผน
ความร่วมมือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก



คำสำคัญ
การปฏิบัติงานมาตรฐาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Abstract
         This research aimed to: 1) study the work performance standard of teacher in early
childhood development centers: 2) compare the work performance standard of early
childhood development centers as classified by personal status and school size; and
3) identify guidelines to improve the work performance standard of early childhood
development centers. The samples consisted of 186 teachers, derived by proportional
stratified random sampling distributed by centers and 10 heads of early childhood
development centers, derived by purposive sampling. The research instruments were
a questionnaire and an interview form, developed by the researcher. The statistics used
for quantitative data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way
analysis of variance; and content analysis for qualitative data.
         The research results revealed that:
         1. The work performance standard of teachers in early childhood development
centers was at a high level in both overall and specific aspect. The top three aspects were
personnel management of early childhood development centers and academic affairs and
curriculum activities, followed by the aspects of building, environment and safety, promotion of
early childhood development network, and community’s participation and support.
         2. Teachers’ working performance standard as classified by age and center size
were different with statistical significance at .05. However, when classified by gender,
educational level and working experience were not statistical differences.
         3. Early Childhood development centers should provide teachers with training or
professional development in childhood education. The teaching should focus on the child’s
assertive behavior and self-confidence. The early childhood development centers should
allocate sufficient parking lot. The meeting between the head of the centers, teachers and
assisting teachers should be held regularly to set collaboration plan and exchange ideas
about the operation of child development centers.


Keywords
work performance standard, early childhood development center, local administrative organization


บทความที่ 2

ลิงค์ไปยังตัวบทความ (Fulltext) : https://www.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/126463
ชื่อบทความ : แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์

ชื่อผู้แต่ง : ณัฐวุฒิ เข็มทิศ1 , รังสรรค์ สิงหเลิศ1, ณรงค์ฤทธิ์ โสภา1

ที่อยู่
1. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ชื่อวารสาร : วารสารช่อพะยอม  ปีที่ : 29  ฉบับที่ : 1  เลขหน้า : 275-288  ปีพ.ศ. : 2561

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) เพื่อทดลองและประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ กำหนดกลุ่มตัวอย่าง ของ Taro Yamane จำนวน 227 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง โดยใช้โปรแกรมลิสเรล เพื่ออธิบายอิทธิพลเส้นทาง กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรสาเหตุ จำนวน 6 ปัจจัยสาเหตุ ระยะที่ 2 เป็นการสร้างแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นายกหรือรองนายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 5 คน ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย จำนวน 5 คน ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 5 คน ผู้แทนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษา จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 20 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ที่ได้จากการวิจัยในระยะที่ 1 มาเป็นประเด็นในการพิจารณาสร้างแนวทางการพัฒนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการประชุมกลุ่มย่อย และการระดมความคิดเห็นในที่ประชุมใหญ่ นำรูปแบบที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนา และระยะที่ 3 เป็นการทดลองใช้และประเมินผลแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มทดลอง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 6 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ในระดับโรงเรียน จำนวน 3 คน และผู้บริหารสถานศึกษาในระดับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 คน ใช้การเลือกแบบสมัครใจ ประเมินผลการทดลอง โดยการเปรียบเทียบผลการทดลอง ก่อนทดลองกับหลังการทดลอง ใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test โดยกำหนดค่า ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย หลักในการปกครอง ( 0.76) การเป็นตัวอย่างที่ดี (0.30) การมีวิสัยทัศน์ที่ดี (0.30) และ ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน (0.27) 2. ผลการสร้างแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดทำกิจกรรมในแนวทางการพัฒนา 4 ตัวแปร จำนวน 10 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) การสนทนาวงกลม 2) เรียนรู้หลักในการปกครอง 3) แต่งกายดี 4) วจีไพเราะ 5) การแสดงบทบาทสมมติ 6) การระดมความคิด 7) การสร้างวิสัยทัศน์ 8) จงอาง หวงไข่ 9) ศึกษาดูงาน และ 10) กีฬาสร้างความสัมพันธ์ 3. ผลการทดลองและประเมินผลการใช้ แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และผลการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า ก่อนทดลองกับหลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนในทุกตัวแปรตาม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ
แนวทางการพัฒนา, ภาวะผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษา, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Abstract
The purposes of research were to (1) analyze causal factors affecting leadership development of educational administrators under local administrative organizations in Buriram province, (2) to design the strategies for leadership development and (3) to implement and evaluate the strategies. The research methodology was divided into 3 phases. In the first phase, the researcher investigated and analyzed 6 causal factors which affected leadership development of educational administrators. The data was collected by questionnaire from 227 educational administrators under the local administrative organizations in Buriram province. Taro Yamane method was used to calculate the sample size and samples were selected by the proportional
stratified random sampling. The data was analyzed by Structural Equation Model: SEM, LISREL for Windows with Path Analysis at the .05 level of statistical significance. In the second phase, the researchers designed and develop the strategies for leadership development based on the data of first phase. The strategies for leadership development was assessed by 20 research participants consisting of five administrators of the local administrative organizations, five representative of the Ministry of Interior, five representative of the Ministry of Education Academicians, and five educational stakeholders. The data was collected by focus groups and brain storming. In the third phase, the voluntary sample subjects were six educational administrators under the local administrative organizations in Buriram province. They were the experimental group of the strategies for leadership development. The data was analyzed by Wilcoxon Signed Rank Test at
the .05 level of statistical significance. Results of the research were as follows: 1. The research findings showed that the four major causal factors were related to leadership development of the educational administrators at the .05 level of the statistical significance. The factors consisted of principles administration (0.76), good model (0.30), good vision (0.30) relationships between school and community (0.09) respectively.
2. The strategies for leadership development of the educational administrators consisted of ten activities: 1) conversation circle, 2) learning principles administration, 3) dressing, 4) polite and good speech, 5) role - play, 6) brain storming, 7) creating clear and good vision, 8) egg protection of king cobra, 9) study visit and 10) sport for creating unity. 3. The average leadership of the educational administrators in the local administrative organizations in Buriram province after implementing the practical strategies was better than that of before implementing the strategies at the .05 level of the statistical significance.

Keywords
strategies, leadership development, educational administrators under local administrative organizations

บทความที่ 3 
ลิงค์ไปยังตัวบทความ (Fulltext) : https://www.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/127722/104517
ชื่อบทความ : แนวทางการพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุ 1 เดือน ถึง 2 ปี

ชื่อผู้แต่ง : เดชา ทําดี1, จุฑามาศ โชติบาง1, เนตรทอง นามพรม1, อุษณีย์ จินตะเวช1, พัชรี วรกิจพูนผล1

ที่อยู่
1. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อวารสาร : วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา  ปีที่ : 19  ฉบับที่ : 2  เลขหน้า : 3-16  ปีพ.ศ. : 2561

บทคัดย่อ
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศชาติ เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ดังนั้นการพัฒนาประชากรของชาติ ต้องเริ่มตั้งแต่การเตรียมมารดาที่ท้อง การจัดการระบบการดูแลทารกแรกเกิด การส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยหรือเด็กเล็กมีสุขภาพดี  บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลการดำเนินการที่ผ่านมาเกี่ยวกับกระบวนการ กิจกรรม และแนวทางการพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุ 1 เดือน ถึง 2 ปี และพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุ 1 เดือน ถึง 2 ปี ซึ่งสามารถสรุปประเด็นการดำเนินการได้คือ สถานการณ์ด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุ 0-2 ปี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องแต่พบปัญหาเด็กปฐมวัยในช่วงอายุ 0-1 ปี ได้รับการดูแลจากครอบครัวที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการดูแลเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสมตามพัฒนาการ สำหรับแนวทางดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุ ต่ำกว่า 2 ปี ได้แก่ การจัดการสถานบริการสำหรับเด็กปฐมวัยในเรื่องการดูแลด้านสุขภาพ การส่งเสริมการเลี้ยงดู การเจริญเติบโตและพัฒนาการ  ต้องเริ่มตั้งแต่การเริ่มมีการปฏิสนธิในครรภ์มารดา การดูแลให้เด็กแรกเกิดให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ภายหลังจากทารกอายุ 6 เดือนแล้ว ต้องส่งเสริมให้ได้รับอาหารเสริมที่เหมาะสมตามช่วงวัย ส่งเสริมให้ครอบครัวเข้ามาบทบาทในการเลี้ยงดูเด็กเล็กให้มากขึ้น พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่เลี้ยงดูเด็กต้องให้ความใส่ใจในการประเมินพัฒนาการ  หน่วยงานองค์กรต่างๆที่รับผิดชอบการพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องมคำนึงถึงการพัฒนาทั้งด้านสุขภาพและด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยควบคู่กันไป หน่วยงานต่างๆต้องมีการประเมินคุณภาพสถานบริการรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต้องมีการประเมินคุณภาพสถานบริการรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในความรับผิดชอบของตนเองอย่างต่อเนื่อง และควรมีการส่งเสริมการจัดทำหลักสูตรที่เหมาะสม

คำสำคัญ
แนวทาง; เด็กปฐมวัย; ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

Abstract
Children are an important human resource for development of the country. Population development should be prepared since pregnancy period, manage suitable newborn care system, and promote healthy early childhood. This article aims to review about processes, activities, and practices related to early childhood development between aged 1 month to 2 years and to develop policy suggestion. This review revealed that the situation of early childhood development was gradually progress but the main problem found was a lack of knowledge, understanding and skills related to childcare practice that appropriate with child development period of the family. Accordingly, the guideline for early childhood under 2 years should include child care service that focus on health promotion while child development should be motivated since pregnancy period. Moreover, Newborn should be properly care, and infant after 6 months should be suitably feed by age. Family should be encouraged to participate in taking care of the children and pays more attention to child development evaluation. For the institutions or organizations who are responsible for early childhood development, child health promotion should go side by side with promotion of early childhood development. Moreover, childcare units and child development centers should be continuous evaluated together with curriculum arrangement.

Keywords
Guideline; early childhood; child development centers

บทความที่ 4
ลิงค์ไปยังตัวบทความ (Fulltext) : https://www.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/90996/71495



ชื่อบทความ : การศึกษาการจัดการชั้นเรียนของผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง

ชื่อผู้แต่ง : อรทัย เลาอลงกรณ์1 

ที่อยู่
1. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ชื่อวารสาร : วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง  ปีที่ : 6  ฉบับที่ : 1  เลขหน้า : 185-198  ปีพ.ศ. : 2560

บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการชั้นเรียนของผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง  ใน 5 ด้าน คือ ด้านการจัดสภาพแวดล้อม ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ด้านการใช้สื่อ  การเรียนรู้ ด้านการจัดการเพื่อความต่อเนื่อง  และด้านการจัดการกับความขัดแย้ง  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  เทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปางจำนวน 28 คนจาก 11 ศูนย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม  โดยแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือตอนที่ 1 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม และตอนที่ 2   เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติการจัดการชั้นเรียนของผู้ดูแลเด็กใน 5 ด้าน  โดยมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน          
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง มีการจัดการชั้นเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าผู้ดูแลเด็กมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการชั้นเรียนในระดับดี 4 ด้านเรียงตามลำดับคือ ด้านการจัดสภาพแวดล้อม ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  ด้านการจัดการกับความขัดแย้ง และด้านการจัดการเพื่อความต่อเนื่อง  ระดับปานกลาง คือด้านการใช้สื่อการเรียนรู้



คำสำคัญ
การจัดการชั้นเรียน ; ผู้ดูแลเด็ก; ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

Abstract
The purpose of this research was to study childcare takers’ classroom management practice
at child development centres under Khelang Nakorn municipality supervision in Lampang province focusing on childcare classroom management practice; the environmental management, the experiential support management, the learning material management, the continuity management and the conflict management. The data collected from 28 childcare takers working at 11 child development centres under Khelang Nakorn municipality supervision by using questionnaires. Each questionnaire was separated into 2 parts; the general information and the child caretakers’ classroom management practice. Mean, percentage and standard deviation were used in the data analysis.
The findings revealed as following: the overall childcare takers’ classroom management practice was at good level. Focusing on each practice, the environmental management, the experiential support management, the conflict management, and the continuity management were at good level respectively. However, the learning material management was at moderate level.


Keywords
classroom management, childcare takers, child development centre


บทความที่ 5

ลิงค์ไปยังตัวบทความ (Fulltext) : http://e-journal.sru.ac.th/index.php/jhsc/article/view/683/pdf_252
ชื่อบทความ : รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้

ชื่อผู้แต่ง : ประเสริฐ พืชผล1 , นิคม จารุมณี2, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์2

ที่อยู่
1. สาขาภาวะผู้นำการจัดการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
2. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ชื่อวารสาร : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  ปีที่ : 9  ฉบับที่ : 2  เลขหน้า : 319-345  ปีพ.ศ. : 2560

บทคัดย่อ
         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการของ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อนำมาสร้างรูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และทำการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้ โดยมีวิธีดำเนินการแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1
ศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจากเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี
และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และทำการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงสำรวจ (Exploratory
Factor Analysis: EFA) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กขององค์การ
บริหารส่วนตำบลในภาคใต้ จำนวน 308 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารจัดการ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้ โดยนำผลการวิเคราะห์องค์ประกอบมาสร้างรูปแบบ
หลังจากนั้นจึงนำรูปแบบไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาความเหมาะสมโดยการสนทนากลุ่ม
(Focus Group Discussion) เพื่อยืนยันความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและทำการปรับปรุง
รูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 13 คน และขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบการบริหาร
จัดการที่มีประสิทธิภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ
องค์การบริหารส่วนตำบลและประเมินความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของศูนย์พัฒนา
เด็กเล็กในภาคใต้ มี 6 องค์ประกอบ จำนวน 68 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การบริหาร
ทรัพยากรบุคคล ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีจำนวน 7 ตัวบ่งชี้
องค์ประกอบที่ 2 โครงสร้างการบริหาร ประกอบด้วย สายงานบังคับบัญชา มีจำนวน
4 ตัวบ่งชี้ การบริหารอาคารสถานที่ มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้ และระบบงานธุรการการบริหาร
งบประมาณ มีจำนวน 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 คุณภาพของผู้เรียน ประกอบด้วย
การพัฒนาเหมาะสมกับวัย มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้ การพัฒนาทางสังคม มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้
การพัฒนาการเรียนรู้ มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้ และภาวะทางอารมณ์ มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้
องค์ประกอบที่ 4 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ประกอบด้วย คณะทำงานร่วมกับสถาน
ศึกษา มีจำนวน 3 ตัวบ่งชี้ และร่วมการพัฒนาการศึกษา มีจำนวน 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบ
ที่ 5 การบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ ประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมทางการเรียน
มีจำนวน 3 ตัวบ่งชี้ การบริหารหลักสูตรและพัฒนาระบบประเมินผล มีจำนวน 8 ตัวบ่งชี้
และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 6
คุณลักษณะและภาวะผู้นำของผู้บริหาร ประกอบด้วย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้ ส่วนการประเมินรูปแบบปรากฏว่าผลการดำเนินงานตามรูปแบบ
การบริหารจัดการทำให้การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คำสำคัญ
รูปแบบการบริหารจัดการ; ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

Abstract
         The purposes of the research were to study the management of
childhood development centers, create efficiency models and evaluate the
efficiency management models of childhood development centers in the South
of Thailand by using three implementations. Firstly, the management of
childhood development centers, their concepts, theories, and related research
were studied. Exploratory Factor Analysis: EFA was used to analyze the
element management. The data of 308 leaders of childhood development
centers from the sub - district administrative organizations in the South were
collected. Secondly, the models of the centers were created by using the
results of the element analysis. Then focus group discussion was conducted by
13 professionals to confirm the feasibility in practice and adjustment.Finally, the
efficient management models of childhood development centers in the south in
the sub-district administrative organizations were evaluated. Both the appropriate
evaluation and the usefulness of the models were estimated.
         The results showed 6 components and 68 indicators of the efficiency
management models of childhood development centers in the South. The first
component was human resource management consisting of seven indicators of
teachers and educational personnel. The second component was a command
hierarchy with a total of four indicators, five indicators of administrative buildings,
and six indicators of administrative systems and budget management. The
third element was quality of learners consisting of five indicators of age -
appropriate development, four indicators of social development, four indicators
of learner development and four indicators of emotional status. The fourth
component was networking cooperation consisting of three indicators of boards
of education working with schools and seven indicators of co - working
educational development. The fifth component was curriculum administration
and academic tasks consisting of three indicators of learning environment,
eight indicators of curriculum administration and evaluation system development
as well as four indicators of information technology for learning. Finally, the
sixth component was characteristics and leadership of administrators consisting
of four indicators of local administrative leaders. The results of performance -
based management model also increased efficiency of the administration of
childhood development centers.

Keywords
Management Model; Childhood Development Center

งานวิทยานิพนธ์ 5 เรื่องที่สนใจ




งานวิทยานิพนธ์ที่สนใจเรื่องที่  1

การบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
The Administration of child development centers of sub district administrative organizations in nong hong district , buriram province

Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามความคิดเห็นของบุคลากรองค์การบริการส่วนตำบล ที่จำแนกตามวุฒิการศึกษา อายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 210 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบปลายเปิดมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 6.89-13.96 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที ทดสอบค่าเอฟ และการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามความคิดเห็นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวม และรายด้าน อยู่ระดับมาก 2. การบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามคิดเห็นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และไม่แตกต่างกัน 3. การบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามความคิดเห็นของบุคคลากรองค์กรการบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีอายุต่างกัน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านบุคลากรและการบริหารจัดการ เรื่องรับผิดชอบดูแลบุคลากรตามนโยบายที่วางไว้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย เรื่องจัดสภาพแวดล้อมภายนอกที่ปลอดภัยโดยปราศจากมลภาวะ ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร เรื่อง กำหนดเวลาการจัดประสบการณ์ตามกิจกรรมประจำวันไว้อย่างชัดเจนและด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากชุมชน เรื่อง ร่วมมือกับผู้ปกครองในการปรับปรุงแผนการดำเนินงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4. การบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามความคิดเห็นของบุคคลากรองค์กรการบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ด้านบุคลากรและการบริหารหลักสูตร มีปัญหาเกี่ยวกับการการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาไม่เพียงพอ ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร มีปัญหาเกี่ยวเนื่องจากการจัดอบรมด้านวิชาการให้กับบุคลากรเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและไม่มีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ด้านสถานที่สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย มีปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ใช้สอยแยกไม่เป็นสัดส่วน และการจัดสภาพแวดล้อมบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่ร่มรื่นและปลอดภัย และด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากชุมชนเห็นว่าการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่ต่อเนื่องและไม่มีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5. ข้อเสนอแนะการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามความคิดเห็นของบุคคลากรองค์กรการบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีข้อเสนอแนะสำคัญ ได้แก่ ด้านบุคลากรและการจัดการ ควรมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างเพียงพอและควรมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะอื่นๆ ของผู้ดูแลเด็กเล็กด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ควรมีการจัดอบรมด้านวิชาการให้กับบุคลากรเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมด้านการเรียนการสอนให้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ และควรพัฒนาส่งเสริมให้มีการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อนำพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็ก ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ควรมีการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยและแยกเป็นสัดส่วนให้ชัดเจนเหมาะสม และควรจัดสภาพแวดล้อมบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีความร่มรื่นและปลอดภัย และด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากชุมชน ควรมีการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และควรมีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ
Buriram Rajabhat University
Address: BURIRAM
Email: library@live.bru.ac.th
Created: 2557
Modified: 2558-05-26
Issued: 2558-05-21
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
RightsAccess:





งานวิทยานิพนธ์ที่สนใจเรื่องที่ 2
การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศึกษาของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดยโสธร
Parents’ Participation in an Educational Administration of the Early Childhood Development Centers under Yasothon’s Local Administrative Organizations

Classification :.DDC: 372.21
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดยโสธร2.เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดยโสธรจำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา และ 3.ศึกษาข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดยโสธร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ปกครองนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดยโสธร ปีการศึกษา 2555 จำนวน 370 คนโดยใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ผู้ปกครองนักเรียนของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ ผ่านการประเมินรับรองมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กน่าอยู่ระดับดีมาก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F และและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดยโสธร 4 ด้านคือด้านการวางแผน ด้านการประสานงาน ด้านการประสานงาน และ ด้านการประเมินผล โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ของผู้ปกครองโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 ด้าน 3.1 ด้านการวางแผนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรจะเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองเข้ามาระดมความคิดเห็นในโครงการต่างๆ และควรให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเป้าหมายและทิศทางในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3.2 ด้านการประสานงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเน้นในการประสานงานกับผู้ปกครองให้มากขึ้นและต่อเนื่อง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรมีการส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมส่งเสริมการใช้กิจกรรมสื่อสารและประสานงานกับครูประจำชั้น 3.3 ด้านการจัดสรรทรัพยากรผู้บริหารควรตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการศึกษาและจัดสรรทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นด้านงบประมาณหรือบุคคล เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มากขึ้น 3.4 ด้านการประเมินผล ผู้ปกครองมีโอกาสในการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการของโรงเรียนน้อยมากทั้งนี้เพราะขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการของการประเมินผล The research aimed to study and compare the parents’ participation in an educational administration of the Early Childhood Development Centers under the Local Administrative Organizations of Yasothon province as classified by sex, age, occupation and an educational level, and to examine the recommendations on the parents’ participation in an educational administration. The samples used in the research were 370 parents of the students of the early Childhood Development Centers in Yasothorn, derived by a stratified random sampling. The research instruments were the five rating scale questionnaire and the interviews for the students’ parents which were evaluated at a very good level. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, and content analysis. The research findings were as follows. 1. The parents of the students’ participation was at a high level in planning, coordinating, resource allocating and evaluating. 2. In comparing the parents’ participation in an educational administration of the early childhood development centers as classified by sex, age, educational level, and occupation of the subjects, it was found to be statistically different at the level of .05. 3. The following were the recommendations for the parents’ participation. 3.1 On planning the early childhood development centers should allow the parents to express their opinion and take part in determining the targets and directions of the centers. 3.2 On coordinating the local administrative organization should focus on a coordination with the parents. The parents of the students should be encouraged to take part more in the communication activities with the teachers. 3.3 On resource allocating the administrators should be aware of the significance of education and resource allocation for further development of the early children. 3.4 On evaluation the parents should were rarely given the opportunity to evaluate the performance according to the school project as they lacked an understanding of the evaluation principles.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: อุบลราชธานี
Email: info.lib@ubru.ac.th
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Created: 2557
Modified: 2558-01-14
Issued: 2014
Issued: 2557-12-11
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
Spatial: ไทย
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
RightsAccess


งานวิทยานิพนธ์ที่สนเรื่องที่ 3

องค์ประกอบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดเพชรบุรี
Administrative factors of local administrative organizations affecting operation according to standard of child development centers in Phetchaburi province

Classification :.DDC: 372
Abstract: ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ได้รับการถ่ายโอนจากส่วนราชการต่างๆ และที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งเอง ความหลากหลายนี้จึงต้องอาศัยมาตรฐานการดำเนินงานและบริหารจัดการของผู้บริหาร ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นไปตามมาตรฐานและได้รับการยอมรับจากชุมชน ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาวิจัยเรื่องนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) การดำ เนินงานตามมาตรฐานของศูนยพ์ัฒนาเด็กเล็ก และ 3) องคป์ระกอบ การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รองนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 53 คน ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 26 คน นักวิชาการศึกษา 26 คน และผู้ดูแลเด็ก 108 คน รวม 213 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านภาวะผู้นำ รองลงมาคือ ด้านการกำหนดนโยบายและการวางแผน ด้านการจัดโครงสร้างองคก์รด้านการบริหารจัดการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารบุคลากร และด้านการบริหารวัสดุอุปกรณ์ ตามลำดับ 2. การดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร รองลงมา คือ ด้านบุคลากร ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านการมีส่วนร่วมและ การสนับสนุนจากทุกภาคส่วน และด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามลำดับ 3. องค์ประกอบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (X) ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตาม มาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (Y) ได้แก่ ด้านการกำหนดนโยบายและการวางแผน (X1) ดา้นการบริหารจดัการ (X5) และด้านการจัดโครงสร้างองคก์ร (X6) มีค่าประสิทธิภาพในการทำนาย (R2) ร้อยละ 68.10 ข้อค้นพบจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การก าหนดนโยบาย การวางแผนและการจัดองค์กร เป็นสิ่งส าคัญ ที่จะท าให้การด าเนินงานพัฒนาศูนย์เด็กเล็กพัฒนาสู่มาตรฐานได้ ผู้บริหารจึงควรให้ความสนใจและจัดให้มีการกำหนดนโยบาย โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เพื่อนำมาสู่การวางแผนเพื่อพัฒนาองค์กร จัดโครงสร้างองค์กรให้มีความสอดคล้อง กับบริบทของศูนย์และศักยภาพของบุคลากรในองค์กร จะทำให้ศูนย์เด็กเล็กมีคุณภาพ สามารถส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมการพัฒนาเด็กให้เป็นที่ยอมรับของชุมชนได้ Nowadays, Local Administrative Organizations (LAOs) have to take the role in operating child development centers transferred from various governmental organizations and also established by LAOs themselves. This background diversity needs operative and administrative standard. Therefore, in order to enhance the operative quality of child development centers according to the standard and get more community’s acceptance, the researcher was interested in doing this research aiming to study: 1) administrative factors of LAOs, 2) operation according to standard of child development centers, and 3) administrative factors of LAOs affecting operation according to standard of child development centers in Phetchaburi Province. The 213 research samples consisted of 53 deputy chief executives of LAOs, 26 chief administrators of LAOs, 26 education technical officers, and 108 child caregivers. The research tool was a questionnaire. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis. The research results were as follows: 1. The administrative factors of LAOs were overall at a high level. When each aspect was considered, the aspect with the highest mean was leadership, whereas the other aspects with the lower means were, ranked in descending order of their means, policy determination and planning, organization structuring, management, budget administration, personnel administration, and material administration. 2. The operation according to standard of child development centers was overall at a high level. When each aspect was considered, the aspect with the highest mean was academic affair and activities according to curriculum, whereas the other aspects with the lower means were, ranked in descending order of their means, 1) personnel, 2) building, environment and safety, 3) child development center management, 4) participation and support from various sectors, and 5) promotion of early childhood development network. 3. The administrative factors of LAOs affecting operation according (X) to standard of child development centers (Y) were policy determination and planning (X1), management (X5), and organization structuring (X6), with predictive efficiency (R2) at 68.10%. The research finding revealed that policy determination, planning, and organizing were the important factors in improving the operation of child development centers to meet the standard. The administrators, therefore, should pay more attention to those factors and organize policy determination with participation of all personnel in organizations. Then, planning for organizational development and structuring should be held with conformity to the center context and potential of personnel in organizations. These would result in child development center quality and ability in promotion and support of activities for child development to achieve more community’s acceptance. Keywords: Administrative factors, operation according to standard, child development center
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: เพชรบุรี
Email: kusolphong.phi@mail.pbru.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Created: 2559
Modified: 2560-10-19
Issued: 2560-10-19
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
CallNumber: วพ 372.21 ส753อ 2559
tha
Spatial: เพชรบุรี
DegreeName: Master of Education
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
RightsAccess:


งานวิทยานิพนธ์ที่สนใจเรื่องที่  4

การดำเนินงานจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามมาตรฐานกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดเลย
The performance of educational management of pre-school children development center according to standards of department of local administration in loei province

Classification :.DDC: วพ370.113
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 ศึกษาระดับการดำเนินงานจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามมาตรฐานกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในจังหวัดเลย 2 เปรียบเทียบระดับการดำเนินงานจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามทัศนะของบุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์การทำงาน และหน่วยงานต้นสังกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กำหนดขนาดโดยใช้ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน _Krejcie and Morgan_ จำนวน 292 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการทดสอบสมมุติฐานใช้สถิติทดสอบที _t-test_
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. ศูนย์วิทยบริการ
Address: เลย
Email: library@lru.ac.th
Role: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
Modified: 2554-12-01
Issued: 2554-11-21
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
CallNumber: วพ370.113
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
RightsAccess:


งานวิทยานิพนธ์ที่สนใจเรื่องที่ 5

การประเมินผลมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
The Evaluation on Working Implementation Standards of Children Development Centers under the Jurisdiction of Sub-district Administration Organization in Mae Chai District, Phayao Province

Abstract: ศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ในด้านประสบการณ์การทำงาน เพศ และระดับการศึกษาของผู้บริหารต่อการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา จำนวน 64 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาพบว่า การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ในภาพรวมพบว่า ระดับการดำเนินงานอยู่ในระดับดี หากพิจารณารายด้านพบว่า การดำเนินงานด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเป็นอันดับแรก รองลงมาได้แก่ ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร และด้านบุคลากรและการบริหารจัดการ โดยเมื่อแยกพิจารณารายด้านพบว่า ด้านบุคลากรและการบริหารจัดการมีการจัดการอยู่ในระดับดี ผู้บริหารเห็นว่าบุคลากรมีความรู้ และมีคุณวุฒิการศึกษาตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ด้านอาคารสถานที่และความปลอดภัย พบว่า ได้มีการจัดบริหารอาหาร น้ำดื่ม และอาหารเสริมที่มีคุณค่าต่อสุขภาพเด็กเล็กอย่างดีและต่อเนื่อง มีการจัดอาคารเรียนที่มั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยสำหรับเด็ก ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กในด้านร่างกายอย่างดี และด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชน พบว่า ในด้านการได้ปฏิบัติ ผู้บริหารมีการจัดกิจกรรมเพื่อให้ชุมชนได้แสดงความคิดเห็นในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การจัดการประชุมชี้แจงให้ชุมชนมีส่วนร่วมบริหารการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างสม่ำเสมอ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สำนักวิทยบริการฯ
Address: ปริญญาโท
Email: library@cru.in.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษาการศึกษาอิสระหลัก
Role: อาจารย์ที่ปรึกษาการศึกษาอิสระร่วม
Created: 2553-09
Modified: 2557-09-04
Issued: 2554-11-02
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
CallNumber: วพ372.218 ช5558ก
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
RightsAccess:


sirikul